15 มกราคม 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การรักษาโรคกระดูดด้วยนำมันสมุนไพร
ประสานกระดูก ของพระใบฎีกาแหล อินทวํโส
หลวงพ่อแหล้ วัดดอนตูม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
นักภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการรักษาโรคกระดูกด้วย
น้ำมันสมุนไพร นามเดิมชื่อ แหล้ แก่นศึกษา

วิธีบำบัดรักษาโรคกระดูก หลวงพ่อแหล้ใช้วีธีผสมผสานระหว่าง
แพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน โดยขั้นแรกจะขอดูฟิล์ม
เอกซเรย์กระดูกของผู้ป่วย เพื่อตรวจดูลักษณะการแตกหักของกระดูก
จากนั้นใช้วิธีดึงกระดูกที่เคลื่อนให้เข้าที่ ใส่ยาเป่าคาถาประสานกระดูก
และดับพิษไฟก็หายกลับบ้านได้ในรายที่ไม่มีแผลหรือได้รับการกระทบ
กระเทือนเพียงเล็กน้อย แต่ถ้ามีบาดแผลปวดบวมมากหรือเนื้อเน่าจนถึง
กระดูก ท่านจะให้เจ้าหน้าที่พยาบาลฉีดยาปฏิชีวนะระงับอาการบวม
และพักรักษาจนแผลยุบ จึงค่อยเข้าเฝือกด้วยวิธีง่าย ๆ แบบโบราณคือ
ชำระแผลด้วยน้ำอุ่น ใช้นำมันสมุนไพรทาตรงบริเวณแผล เป่าคาถา
ประสานกระดูก ดับพิษไฟ จากนั้นปิดทับด้วยสำลีพันทับด้วยผ้าพันแผล
ใช้ไม้ไผ่มีขนาดสั้นยาวแล้วแต่ขนาดของอวัยวะส่วนที่ต้องการรักษา
โดยทำการประกบขนาบทั้งสองข้างและขันชะเนาะให้แน่นเป็นระยะ
3 เปลาะ หลังจากนี้ก็ใกลับบ้านได้ เมื่อหายก็ให้มาตัดเฝือกออก
ถ้าเป็นมากอาจต้องรักษาตัวหลายเดือน เพื่อความสะดวกหลวงพ่อ
ได้สร้างห้องพักไว้เป็นห้อง ๆ สำหรับผู้ป่วย

น้ำมันสมุนไพรตัวยาที่ใช้เป็นส่วนผสมของการหุงน้ำมันสมุนไพร
ประสานกระดูก คือ น้ำมันมะพร้าว ขมิ้นอ้อย บอระเพ็ด ใบโคนดินสอ
หัวกระเทียมบดผสมเกลือป่น ใช้น้ำร้อนต้มกับใบชาทำเป็นกระสายยา
วิธีการหุงน้ำมันให้นำตัวยาทั้งหมดเคี่ยวบนเตาไฟร้อน ๆ ให้งวด และ
บริกรรมคาถาพระโมคคัลลาน์ น้ำมันของหลวงพ่อมีสรรพคุณ
เรียกเนื้อที่เน่าจนถึงกระดูกให้เต็มสมบูรณ์

จากผลสำเร็จของการรักษาของท่านเป็นที่ประจักษ์ คณะแพทย์จาก
โรงพยาบาลศิริราชได้อารธนาหลวงพ่อไปให้ความรู้และวิธีรักษาถึง
2 ครั้ง ท่ามกลางคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิร่วม 200 คน


การประกอบตัวถังรถยนต์

ร้อยละ 40 ของรถบัส หรือรถโดยสารในเมืองไทยต่อกันขึ้นเอง
ในเขตบ้านโป่ง จังหวัดราขบุรีโดยเฉพาะรถที่วิ่งภายในระหว่าง
จังหวัดแทบจะทุกภาคของประเทศไทย สันนิจฐานว่า
อุตสาหกรรมต่อรถเริ่มดำเนินกิจการในช่วงหลังสงครามโลก
ครั้งที่ 2 และค่อย ๆ เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ การประกอบ
ตัวถังรถเริ่มจากการติดตั้งโครงรถ เชื่อมด้วยสแตนเลส
อลูมิเนียมหรือเหล็กตามความต้องการของลูกค้าและเคลือบสี
ทั้งคัน จากนั้นก็เป็นการตกแต่งภายใน ในระยะแรกเป็นการต่อ
รถบัสไม้เป็นรถหกล้อ ต่อมาการต่อรถได้มีการพัฒนาขึ้น
เป็นลำดับ เปลี่ยนวัสดุจากไม้เป็นเหล็ก จนปัจจุบันเป็นรถติด
เครื่องปรับอากาศ แม้นจะมีกิจการต่อรถในภูมิภาคอื่นเข้ามา
แข่งขันแต่ด้วยความปราณีตและฝีมือที่สะสมมานาน
อู่บ้านโป่งก็ยังสามารถรักษาส่วนแบ่งในตลาดรถบัสไว้ได้
อย่างเหนี่ยวแน่นเช่นในอดีต

ไม่มีความคิดเห็น: