16 ธันวาคม 2550

การสื่อความหมาย


1. คำว่า communis แปลว่าคล้ายคลึง หรือร่วมกัน

2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้

เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ

ตลอดจนประสบการณ์ จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้ส่ง"

ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ"

3. Sender Message Channel Reciever

4. สารหมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ

ประสบการณ์ที่มีในตัวผู้ส่ง

5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี

ตัวอย่างเช่น สระ พญัญชนะ วรรณยุกต์ สีต่าง ๆ เส้น เป็นต้น

6. Structures หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ

มารวมกัน ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งขององค์ประกอบโครงสร้างก็จะเปลี่ยนไปด้วย

ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง เป็นต้น

7. Content หมายถึง เนื้อหา/ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด

ความต้องการของผู้ส่ง ข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร จะวางแผนเข้ารหัส

และจัดส่งอย่างไร แต่ละแนวทางอาจได้ผลที่แตกต่างกัน

8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหา

ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับ

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ส่งจะมีวิธีการหรือเทคนิคเฉพาะตัว

บางที่เรียกว่า styleในการสื่อความหมาย

9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด

ความต้องการ ตัวอย่างเช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี

กิริยาท่าทาง

10.อุปสรรค หรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน

อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด

11.อุปสรรค หรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น อารมณ์ขุ่นมัว ความเครียด

อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล

12.Encode(การเข้ารหัส)หมายถึง การแปลความต้องการของตน

การทำอย่างไรให้ผู้รับเข้าใจ เช่นการใช้ภาษา การแสดงท่าทาง

13.Decode(การถอดรหัส)หมายถึง การตีความ แปล สามารถเข้าใจ

สิ่งที่ส่งมาได้ เปรียบเหมือนเครื่องรับสัญญาน

14. การสื่อความหมายในการเรียนการสอน

กระบวนการเรียนการสอน เป็นกระบวนการสื่อความหมายอย่างหนึ่ง

ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

1. ครู เป็นผู้ส่ง(Source)และเป็นผู้กำหนดจุดมุ่งหมาย

ของระบบการสอน

2. เนื้อหา ,หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์

เปรียบได้กับสาร(Message)ที่จะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน

3. สื่อ หรือช่องทาง(Channel)เป็นตัวกลางหรือพาหะที่จะนำ

เนื้อหา จากครูผู้สอนเข้าไปสสู่ภายในของผู้เรียน

4. นักเรียนหรือผู้เรียน เปรียบได้กับผู้รับ(Reciever)

เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้

ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

15. ความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน

ความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอนเกิดจาก

อุปสรรคต่าง ๆ ในกระบวนการเรียนการสอนควรคำนึงถึงอปสรรคต่าง ๆ

พยามขจัดให้หมดไป เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุปสรรคต่าง ๆ ได้แก่

1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนก่อนลงมือสอน

ทำให้ผู้รียนขาดเป้าหมายในการเรียน

2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของ

ผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนไม่หลากหลาย

3. ครูผู้สอนไม่จัดบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

4. ครูผู้สอนอาจจะใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ

ความหมายของคำ เนื้อหา

5. ครูผู้สอนนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว

ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง ทำให้เข้าใจยาก

6. ครูผู้สอนเลือกสื่อไม่เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน











05 ตุลาคม 2550

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี

การใช้เทคโนโลยีในด้านการศึกษา ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ได้มีการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู นักเรียน และผู้ที่สนใจมีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากหลายในโลก และใช้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์(E-mail) การเผยแพร่ และการค้นหาข้อมูลโดยใช้อินเตอร์เนต มีเครือข่ายสคูลเนต(schoolnet) และเครือข่ายอื่น ๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้สารสนเทศ การนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้ การเรียนการสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์มากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้สามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตเราไปในหลายทิศทาง กล่าวคืออาจทำให้ชีวิตสะดวกมากยิ่งขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเนื่องจากมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยทุ่นแรง ในทางตรงข้ามเทคโนโลยีอาจทำให้ผู้ใช้และสังคมประสบปัญหาบางอย่างได้ ถ้าผู้ใช้ใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เทคโนโลยีมีผลต่อวัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างมากปัญหาเหล่านี้ผู้ใช้จึงควรตระหนัก และใช้เทคโนโลยีอย่างระมัดระวังข้าพเจ้าเห็นว่าผู้ใช้ควรยึดทางสายกลาง ไม่สุดโต่ง เกินไปทั้งสองด้านหากเรายึดว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรนำมาใช้ หรือปล่อยให้มีส่วนสำคัญในชีวิต มนุษย์เราก็จะย้ำอยู่ที่เดิม ไม่อาจเดินไปสู่ความก้าวหน้าได้